-
- ข้อมูลเทศบาล
- ยุทธศาสตร์/แผนงาน
- ข่าว/กิจกรรม
- เอกสาร/รายงาน
- ติดต่อเรา
ที่ตั้ง
เขตเทศบาลเมืองหนองบัว อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอหนองบัวประมาณ 2 กิโลเมตร อยู่ห่างจากจังหวัดนครสวรรค์ประมาณ 71 กิโลเมตร ส่วนที่ตั้งอำเภอหนองบัว จะทอดตัวยาวจากทิศตะวันออกไปทิศตะวันตกของอำเภอหนองบัว
อาณาเขต
ลักษณะภูมิประเทศของเทศบาลเมืองหนองบัว มีลักษณะเป็นที่ราบลาดเอียงจากทิศตะวันออกไปด้านทิศตะวันตก พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ลุ่ม น้ำท่วมถึง ลักษณะดินเป็นดินปนทราย พื้นที่ส่วนใหญ่ใช้สำหรับทำนา , ทำไร่มันสำปะหลัง , ทำสวน มีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับ หมู่ที่ 4 , 9 , 12 , 13 ตำบลหนองกลับ
ทิศใต้ ติดต่อกับ หมู่ที่ 1 , 2 , 3 , 7 , 8 , 14 ตำบลหนองบัว
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ หมู่ที่ 3 , 12 ตำบลหนองกลับ และหมู่ที่ 1 ตำบลหนองบัว
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ หมู่ที่ 1 ตำบลหนองกลับ และหมู่ที่ 7 , 14 ตำบลหนองบัว
เขตการปกครอง เขตเทศบาลเมืองหนองบัว มีพื้นที่การปกครอง 6.25 ตารางกิโลเมตร แบ่งเขตการปกครองเป็น 2 ตำบล ประกอบด้วย 15 ชุมชน ได้แก่
1. ตำบลหนองบัว หมู่ที่ 1 ชุมชนบ้านมาบตะคร้อ หมู่ที่ 2 ชุมชนบ้านเนินน้ำเย็น หมู่ที่ 3 ชุมชนบ้านกุฏิฤๅษี หมู่ที่ 7 ชุมชนบ้านโคกมะขามหวาน หมู่ที่ 7 ชุมชนบ้านโคกมะกอก หมู่ที่ 8 ชุมชนบ้านโคกมะตูม หมู่ที่ 9 ชุมชนบ้านคลองมะรื่น หมู่ที่ 14 ชุมชนบ้านทุ่งท้ายเนิน
2. ตำบลหนองกลับ หมู่ที่ 1 ชุมชนบ้านไร่โพธิ์ทอง หมู่ที่ 2 ชุมชนบ้านใหญ่ หมู่ที่ 3 ชุมชนบ้านสุขสำราญ หมู่ที่ 4 ชุมชนบ้านเนินพลวง หมู่ที่ 9 ชุมชนบ้านเนินตาเกิด หมู่ที่ 12 ชุมชนบ้านเนินขี้เหล็ก หมู่ที่ 13 ชุมชนบ้านเนินสาน
ประชากร เทศบาลเมืองหนองบัวมีประชากร (ณ กุมภาพันธ์ 2559) จำนวน 11,997 คน จำแนกเป็นเพศชาย 5,760 คน และหญิง 6,237 คน (ร้อยละ 48.01 และ 51.99 ของประชากรทั้งหมด ตามลำดับ) มีครัวเรือน 4,697 ครัวเรือน โดยมีขนาดครัวเรือนเฉลี่ยประมาณ 3 คน/ครัวเรือน มีความหนาแน่นของประชากรประมาณ 1,920 คน/ตารางกิโลเมตร (งานทะเบียนราษฎร์ สำนักปลัดเทศบาล, 2559)
เกี่ยวกับสถานศึกษาภายในเขตเทศบาลเมืองหนองบัว
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 3 แห่ง ได้แก่ ศพด.บ้านเนินน้ำเย็น ศพด.ขุนอ้อ (วัดหนองกลับ) และ
ศพด.เทศบาลเมืองหนองบัว
- โรงเรียนระดับประถมศึกษา 1 แห่ง ได้แก่ โรงเรียนอนุบาลหนองบัว (เทพวิทยาคม)
- โรงเรียนระดับมัธยมศึกษา 1 แห่ง ได้แก่ โรงเรียนหนองบัว
- ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนและการศึกษาตามอัธยาศัย 1 แห่ง
เกี่ยวกับสถาบันและองค์กรทางศาสนา
- วัด 3 แห่ง ได้แก่วัดหนองบัว (หนองกลับ) วัดเทพสุธาวาส และวัดหนองม่วง
(ข้อมูลจากสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ)
- โบสถ์คริสต์ 1 แห่ง
- ศาลเจ้า 3 แห่ง ได้แก่ ศาลเจ้าพ่อ-เจ้าแม่หนองบัว ศาลหลวงปู่ฤาษีนารายณ์ และศาลเจ้าพ่อปู่น้อย
เทศบาลเมืองหนองบัว เดิมมีฐานะเป็นสุขาภิบาลหนองบัว ได้รับการจัดตั้งขึ้น เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2499 ต่อมาสุขาภิบาลหนองบัว ได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็นเทศบาลเมืองหนองบัว ตามพระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. 2542 ตั้งแต่วันที่ 25 พฤษภาคม 2542
ยุทธศาสตร์
ยุทธศาสตร์ที่ ๑ พัฒนาแหล่งน้ำและบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน
ยุทธศาสตร์ที่ ๒ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่มีคุณภาพ
ยุทธศาสตร์ที่ ๓ การส่งเสริมการท่องเที่ยว
ยุทธศาสตร์ที่ ๔ การพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดี
ยุทธศาสตร์ที่ ๕ การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
ยุทธศาสตร์ที่ ๖ ส่งเสริมสังคมสงบสุขและจารีตประเพณีดีงามในท้องถิ่น
เป้าประสงค์
ยุทธศาสตร์ | เป้าประสงค์ |
---|---|
๑. พัฒนาแหล่งน้ำและบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน | ๑. มีโครงข่ายน้ำและพัฒนาแหล่งน้ำใช้ในการเกษตรอย่างเพียงพอภายใต้การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแบบองค์รวมในทุกระดับอย่างมีประสิทธิภาพ ๒. ประชาชนเข้าถึงน้ำบริโภคได้ตลอด |
๒. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่มีคุณภาพ | ๑. มีโครงข่ายการคมนาคมที่สะดวกได้มาตรฐานเหมาะสมกับการใช้งาน ๒. มีระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการที่ได้มาตรฐาน |
๓. การส่งเสริมการท่องเที่ยว | ๑. มีนักท่องเที่ยวและรายได้จากการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น ๒. มีกิจกรรมที่ก่อให้เกิดการสร้างแหล่งรายได้เพิ่มเติมในพื้นที่ |
๔. การพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดี | ๑. สังคมมีความเข้มแข็ง ประชาชนมีความสุขภายใต้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ๒. ประชาชนมีสุขภาวะที่ดีแข็งแรง ๓. ประชาชนเข้าถึงระบบการศึกษาที่ดีมีคุณภาพ ๔. ผู้ด้อยโอกาสทางสังคมได้รับการสงเคราะห์และพัฒนาคุณภาพชีวิตให้พึงพาตนเองได้ |
๕. การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน |
๑. ประชาชนมีจิตสำนึกและมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และบริหารจัดการ ๒. มีการลดปริมาณขยะและกำจัดขยะชุมชนให้ถูกหลักวิชาการ ๓. ประชาชนมีการใช้พลังงานทดแทนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ๔. ประชาชนมีความรู้ในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และอปท. มีแผนรับมือป้องกันและลดความเสี่ยงภัย |
๖. ส่งเสริมสังคมสงบสุขและจารีตประเพณีดีงามใน ท้องถิ่น |
๑. ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นและ
ปราชญ์ชาวบ้านได้รับการอนุรักษ์ฟื้นฟูและสืบสานให้คงอยู่ต่อ ๒. ประชาชนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ตลอดจน ห่างไกลยาเสพติด ๓. อปท. มีการบริหารจัดการอย่างโปร่งใส ๔. ประชาชนได้รับการบริการที่มีคุณภาพ ๕. ประชาชนมีจิตสำนึกในการปฏิบัติตนตามระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข |
ตัวชี้วัด
ยุทธศาสตร์ | ตัวชี้วัด |
---|---|
๑. พัฒนาแหล่งน้ำและบริหารจัดการน้ำอย่าง ยั่งยืน | ๑. ร้อยละความพึงพอใจของประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณพื้นที่ดำเนิน (ทอดแบบสอบถาม) ๒. ร้อยละของจำนวนครัวเรือนที่ไม่มีน้ำประปาใช้เพื่อเพื่ออุปโภค บริโภคลดลง |
๒. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่มีคุณภาพ | ๑. ร้อยละความพึงพอใจของประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณพื้นที่
ดำเนิน (ทอดแบบสอบถาม) ๒. ร้อยละของครัวเรือนที่ ไม่มี ไฟฟ้าใช้ลดลง |
๓. การส่งเสริมการท่องเที่ยว | ๑. จำนวนครั้งที่มีการประชาสัมพันธ์การลงทุน การท่องเที่ยวใน พื้นที่อย่างเป็นรูปธรรม (จัดทำวารสาร แผ่นพับ สื่อวิทยุ
ชุมชน โครงการต่าง ๆ ของเทศบาล) ๒. ร้อยละของจำนวนนักท่องเที่ยวหรือรายได้ ที่เพิ่มขึ้น |
๔. การพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดี | ๑. ระดับความพึงพอใจผู้เข้าร่วมโครงการ ๒. จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ ๓. ผลสัมฤทธิ์เชิงประจักษ์ |
๕. การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน | ๑. ระดับความพึงพอใจผู้เข้าร่วมโครงการ ๒. จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ ๓. ผลสัมฤทธิ์เชิงประจักษ์ |
๖. ส่งเสริมสังคมสงบสุขและจารีตประเพณีดีงาม ในท้องถิ่น | ๑. ระดับความพึงพอใจผู้เข้าร่วมโครงการ ๒. จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ ๓. ผลสัมฤทธิ์เชิงประจักษ์ |
ค่าเป้าหมาย
ยุทธศาสตร์ | ค่าเป้าหมาย |
---|---|
๑. พัฒนาแหล่งน้ำและบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน | -โครงการส่งเสริมและพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร และเพื่อ พัฒนาคุณภาพน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค |
๒. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่มีคุณภาพ | - การก่อสร้าง ปรับปรุง บำรุงรักษาโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ในพื้นที่อาคารต่างๆ สิ่งก่อสร้าง ฯลฯ |
๓. การส่งเสริมการท่องเที่ยว | - พัฒนา วางแผน ส่งเสริมการท่องเที่ยวในพื้นที่และในอำเภอ หนองบัว การส่งเสริมการลงทุนการท่องเที่ยว ได้แก่ พิพิธภัณฑ์วัดหนองกลับ เขาพระ-เขาสูง อ่างเก็บน้ำพระครูไกร เป็นต้น |
๔. การพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดี | - โครงการส่งเสริมการดำรงชีวิตตามแนวทางหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง - โครงการส่งเสริมสุขภาวะที่ดี และสนับสนุนให้เด็กและประชาชนได้ออกกำลังกาย - โครงการเกี่ยวกับ ส่งเสริม สนับสนุน การศึกษาทั้งในระบบและนอกระบบ - โครงการพัฒนาสังคมและส่งเสริมคุณภาพชีวิตต่างๆ เช่น การช่วยเหลือผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยเอดส์ ผู้ยากไร้ ผู้ด้อยโอกาสโครงการช่วยเหลือผู้ไร้ที่อยู่อาศัย งานด้านสังคมและส่งเสริมคุณภาพชีวิต ส่งเสริมเยาวชน สตรี อุดหนุน อปท. อื่น ส่วนราชการหรือหน่วยอื่นของรัฐ องค์กรประชาชน องค์กรการกุศล องค์กรที่จัดตั้งตามกฎหมาย เพื่อดำเนินโครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนา ด้านสังคม ส่งเสริมคุณภาพชีวิต ฯลฯ |
๕. การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน |
- ส่งเสริมการลดปริมาณขยะชุมชนให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ - ส่งเสริมและสนับสนุนการใช้พลังงานทดแทน เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม - โครงการบริหารจัดการและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม เช่น ปลูกต้นไม้ในป่าชุมชน ปาสาธารณะ ปลูกหญ้า แฝก อนุรักษ์ฟื้นฟูแหล่งน้ำ ฯลฯ |
กลยุทธ์
ยุทธศาสตร์การพัฒนา | กลยุทธ์ |
---|---|
๑. พัฒนาแหล่งน้ำและบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน | ๑. ส่งเสริมและพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร ๒. ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพน้ำเพื่ออุปโภค บริโภค |
๒. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่มีคุณภาพ | ๑. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ๒. การพัฒนาสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ |
๓. การส่งเสริมการท่องเที่ยว |
๑. พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวที่มีคุณภาพ ๒. ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยว |
๔. การพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดี |
๑. ส่งเสริมพัฒนาการดำรงชีวิตตามแนวทางหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ๑. ส่งเสริมสุขภาวะที่ดีของคนทุกเพศทุกวัย ๑. ส่งเสริมและสนับสนุนให้เด็กและประชาชนได้ออกกำลังกาย ๔. ส่งเสริมและจัดการศึกษาในระบบ นอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยให้มีคุณภาพ ๕. สงเคราะห์และพัฒนาคุณภาพชีวิต เด็ก สตรี ผู้สูงอายุผู้ด้อยโอกาสทางสังคม ให้พึ่งพาตนเองได้ |
๕. การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน |
๑. อนุรักษ์ ฟื้นฟู และบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ๒. ส่งเสริมการลดปริมาณขยะให้ถูกหลักวิชาการ ๓. ส่งเสริมและสนับสนุนการใช้พลังงานทดแทนเพื่อชุมชน ๔. ส่งเสริมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย |
๖. ส่งเสริมสังคมสงบสุขและจารีตประเพณีดีงามในท้องถิ่น |
๑. อนุรักษ์ ฟื้นฟู และสืบสานศาสนาศิลปวัฒนธรรม ประเพณีภูมิปัญญาท้องถิ่นและปราชญ์ชาวบ้าน ๒. ส่งเสริมความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินตลอดจนห่างไกลยาเสพติด ๓. สร้างนวัตกรรมเชิงกระบวนการที่ส่งเสริม/แสดงการบริหาร จัดการที่โปร่งใสที่ยังดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ๔. เพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการและให้บริการประชาชน ๕. ส่งเสริมการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข |
จุดยืนทางยุทธศาสตร์ (Positioning)
จุดยืนทางยุทธศาสตร์ (Positioning) ของเทศบาลเมืองหนองบัว
จุดยืนการทางยุทธศาสตร์ (Positioning) กำหนดขึ้นจากการวิเคราะห์สภาพการณ์ที่เป็นปัจจัยเข้าเชิงนโยบาย ปัญหาความต้องการของประชาชน และภารกิจที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน และที่ควรจะเป็นในอนาคตโดยการวิเคราะห์ความสำคัญต่อภารกิจ ความเร่งด่วนของปัญหา ผลกระทบต่อประชาชน ความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ และความเชื่อมโยงกับนโยบาย ทำให้ได้ความต้องการ หรือความจำเป็นทางยุทธศาสตร์ที่เป็นหัวใจหลักแห่งความสำเร็จขององค์กร (Key Success Factor : KSF) จุดยืนทางยุทธศาสตร์ เป็นความมุ่งมั่นที่จะใช้เป็นหลักในการพัฒนาตามกระบวนการของแผนยุทธศาสตร์ ซึ่งประกอบด้วย จุดยืนการพัฒนา ดังต่อไปนี้
๑. พัฒนาแหล่งน้ำและบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน
๒. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่มีคุณภาพ
๓. การส่งเสริมการท่องเที่ยว
๔. การพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดี
๕. การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
๖. ส่งเสริมสังคมสงบสุขและจารีตประเพณีดีงามในท้องถิ่น
ความเชื่อมโยงของยุทธศาสตร์ในภาพรวม
ในภาพรวมแล้วยุทธศาสตร์การพัฒนาของเทศบาลเมืองหนองบัว มุ่งพัฒนา ๖ ด้าน ได้แก่ พัฒนาเหล่งน้ำและบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่มีคุณภาพ การส่งเสริมการท่องเที่ยว การพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดี การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน และส่งเสริมสังคม สงบสุขและจารีตประเพณีดีงามในท้องถิ่น